เมนู

5. จูฬสัจจกสูตร


[392] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระวิหารยอดในป่ามหา
วัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น บุตรแห่งนิครนถ์ผู้หนึ่ง ชื่อสัจจกะ อาศัยอยู่ใน
เมืองเวสาลี เป็นคนพอใจพูดสังสนทนาลัทธินั้น ๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้า
ปัญญา มหาชนสมมติว่าเป็นคนดีความรู้ดี. เขาได้กล่าววาจาในที่ประชุมชน
ในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ ครูของหมู่ แม้ปฏิญญา (ยืนยัน) ตนว่า เป็นพระอรหันต์
ผู้ไกลจากกิเลสควรนับถือ ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคำแล้ว จะไม่ประหม่า
ตัวสั่นหวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำ
ด้วยถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสะท้านหวั่นไหว จะกล่าว
อะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์.
[393] ครั้งนั้น เวลาเช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิผู้มีอายุ ครองผ้าตามสมณ
วัตรแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี. สัจจกะเดินเที่ยวมา
ในเมืองเวสาลี ได้แลเห็นพระอัสสชิผู้มีอายุมาอยู่แต่ไกล จึงเข้าไปใกล้
กล่าวปราศรัยกับท่านแล้วได้ยืนส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามท่านว่า พระ
อัสสชิ พระโคดมแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร แลคำสั่งสอนของพระ
โคดม ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างไร. พระอัสสชิผู้มีอายุตอบ
ว่า อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่าง
นี้ แลคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วน

อย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่
เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัว เวทนาไม่ใช่ตัว สัญญาไม่ใช่ตัว สังขาร
ทั้งหลายไม่ใช่ตัว วิญญาณไม่ใช่ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้ง
หลายทั้งปวงไม่ใช่ตัว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสั่งสอนสาวกทั้ง
หลายอย่างนี้ แลคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นไปมากในสาวกทั้ง
หลายมีส่วนอย่างนี้แล. สัจจกะตอบว่า ข้าพเจ้าได้ฟังว่า พระโคดมมีถ้อยคำ
อย่างนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังไม่ดีแล้ว ถ้าอย่างไรบางคราว ข้าพเจ้าจะได้พบกับพระ
โคดม จะได้เจรจากันสักหน่อย ถ้าอย่างไร จะเปลื้องจากความเห็นที่
เลวทรามนั้นเสียได้.
[394] สมัยนั้น เจ้าลิจฉวี ประมาณห้าร้อยองค์ ประชุมกันอยู่ในศาลา
ที่ว่าราชการ ด้วยกิจอันหนึ่ง สัจจกะเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นแล้วพูด
ว่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วย
กัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจา กับพระสมณโคดม. ถ้าพระสมณโคดมจักตั้งอยู่
ตามคำที่ภิกษุชื่ออัสสชิผู้เป็นสาวกมีชื่อผู้หนึ่ง ได้พูดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
ชักลากถ้อยคำพระสมณโคดมมาตามถ้อยคำของข้าพเจ้าเหมือนบุรุษมีกำ
ลัง จับแกะอันมีขนยาวที่ขน ฉุดลากมาฉะนั้นหรือมิฉะนั้น เหมือนคนทำการ
ในโรงสุรา ผู้มีกำลัง วางลำแพนสำหรับรองแป้งสุราอันใหญ่ในห้วงน้ำอันลึก
แล้ว จับที่มุมชักลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะสลัดถ้อยคำของพระสมณโคดม
เสีย เหมือนบุรุษมีกำลังที่เป็นนักเลงสุรา จับภาชนะสำหรับตวงสุราที่มุม
ตวงสุราอยู่ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฟาดพระสมณโคดมเล่น เหมือนช้างที่มีวัยล่วง
หกสิบปี หยั่งลงสู่สระโบกขรณีอันลึกเเล้ว พ่นน้ำเล่นฉะนั้น. ขอเจ้าลิจฉวีทั้ง
หลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจา
กับพระสมณโคดม ดังนี้. ในเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร

พระสมณโคดมจักยกถ้อยคำของสัจจกะได้ ที่แท้สัจจกะกลับจะยกถ้อยคำ
ของพระสมณโคดมเสียอีก. บางพวกกล่าวว่า สัจจกะเป็นอะไรมา จึงจะยก
ถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับจะยกถ้อยคำ
ของสัจจกะได้อีก ลำดับนั้น สัจจกะ. อันเจ้าลิจฉวีประมาณห้าร้อยห้อมล้อม
ไปสู่พระวิหารยอดในป่ามหาวัน.
[395] สมัยนั้น ภิกษุมากหลายรูป จงกรมอยู่ในที่แจ้ง. เขาเข้าไปถาม
เธอว่า เดี๋ยวนี้พระโคดมอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะเข้าไป
เฝ้าพระโคดม ภิกษุทั้งหลายนั้นตอบว่า นั่นแน่ะ อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เสด็จลงสู่ป่ามหาวัน ประทับนั่งพักร้อนอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง สัจจกะ
พร้อมด้วยเจ้าลิจฉวีหมู่ใหญ่ เข้าไปสู่ป่ามหาวัน ถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประ-
ทับอยู่แล้ว ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง. แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาทตามอาการของผู้เลื่อม
ใส บางพวกก็เป็นแต่กล่าววาจาปราศรัยแสดงความยินดี บางพวกเป็น
แต่ประคองอัญชลีประณมมือ บางพวกก็ร้องประกาศชื่อแลโคตรของ
ตน ๆ บางพวกเป็นคนนิ่งเฉยอยู่ ต่างคนก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งๆ
แล้ว.
[396] สัจจกะทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าขอถามปัญหากะ
พระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อการกล่าวแก้ปัญหา
แก่ข้าพเจ้า.
พ. ท่านประสงค์จะถามข้อใด ก็ถามเถิด อัคคิเวสสนะ.
ส. พระโคดมแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร แลคำสั่งสอนของ
พระโคดมเป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างไร.

พ. อัคคิเวสสนะ เราแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่ง
สอนของเรา เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ใช่
ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวดังนี้ เรา
แนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเราเป็นไปมากใน
สาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างนี้แล.
ส. อุปมาแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า พระโคดม.
พ. อุปมานั้น แจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด อัคคิเวสสนะ
ส. พระโคดม เหมือนหนึ่งพืชพรรณไม้ทั้งหลาย เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชพรรณไม้ทั้งหลายนั้นทั้งหมดต้อง
อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ หรือมิ
ฉะนั้น เหมือนหนึ่งการงานเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลังแขน ที่บุคคลทำ
อยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่ในแผ่น
ดิน จึงทำได้ฉันใด บุรุษ บุคคลมีรูปเป็นตัว มีเวทนาเป็นตัว มีสัญญาเป็น
ตัว มีสังขารเป็นตัว มีวิญญาณเป็นตัว ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จึงเสวยผลแห่งบุญ หรือไม่ใช่บุญได้ฉันนั้น.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านว่าอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของ
เรา เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารเป็นตัวของเรา
วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้ไม่ใช่หรือ.
ส. พระโคดม ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนั้น ประชุมชนหมู่ใหญ่นี้ก็กล่าว
อย่างนั้น.

พ. อัคคิเวสสนะ ประชุมชนหมู่ใหญ่ จักทำอะไรแก่ท่าน เอาเถิด
ท่านแก้แต่ถ้อยคำของตัวเถิด.
ส. พระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของเรา เวทนาเป็น
ตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของเรา วิญญาณ
เป็นตัวของเรา ดังนี้.
[397] พ. อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เราจักถามท่านเฉพาะในข้อนี้
ท่านเห็นอย่างไร จึงกล่าวแก้อย่างนั้น. ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดินใหญ่) ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว
(สรงน้ำทั่วพระองค์ตลอดถึงพระเศียร ในเวลาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน) เหมือน
พระเจ้าปเสนทิโกศล แลพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคนที่ควรต้อง
ฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ต้องเป็นไป
ได้ ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ หรือมิใช่.
ส. พระโคดม อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษก
แล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคน
ที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้อง
เนรเทศ ต้องเป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ เพราะว่าแต่อำนาจ
ของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ ที่อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาทว์
คนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแคว้นของ
ตนๆ เหตุไฉนอำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิกเษก
แล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู จักไม่เป็น
ไปได้เช่นนั้น อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว
นั้น ต้องเป็นไปได้ด้วย ควรจะเป็นไปได้ด้วย.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าว
ว่า รูปเป็นตัวของเราดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของ
เรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้ สัจจกะได้นิ่งอยู่ พระองค์
ตรัสถามอย่างนี้ถึงครั้งที่สาม จึงได้ทูลตอบว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้
พระโคดม.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวแก้คำหลัง
ของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง.
[398] อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าว
ว่า เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของ
เรา วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย
สละวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยกล่าวแก้ คำหลัง
ของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง. อัคคิเวสสนะ
ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และ
วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ส. มันไม่เที่ยง พระโคดม.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทุกข์หรือสุข.

ส. สิ่งนั้นทุกข์ พระโคดม.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของ
เรา ดังนี้.
ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ผู้ใดติดทุกข์อยู่
เข้าไปถึงทุกข์แล้ว ยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วน
นั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้ ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้
สิ้นได้ มีบ้างหรือ.
ส. จะมีได้ เพราะอะไร ข้อนี้ไม่มีได้เลย พระโคดม.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
ท่านก็ติดทุกข์อยู่ เข้าไปถึงทุกข์แล้ว ยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้น
ของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้ ไม่ใช่หรือ.
ส. จะไม่มีเพราะอะไร ข้อนั้นต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดม.
[399] พ. อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่งบุรุษ มีความต้องการแก่นไม้เที่ยว
หาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งสำหรับถากไม้ที่คมเข้าไปป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่
ในป่านั้นต้นหนึ่ง ซึ่งมีลำต้นตรง กำลังรุ่นยังไม่ทันตกเครือ ไม่เหลือวิสัยที่จะ
ตัด เขาก็ตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้นแล้ว ตัดยอดลิดใบออก เขาจะไม่ได้พบแม้แต่
เพียงกระพี้ จะได้พบแก่นมาแต่ข้างไหน ข้อนี้ฉันใด เราซักถามท่านให้กล่าว
แก้ในถ้อยคำของตัวเอง ท่านก็เปล่าว่างแพ้ไปเอง ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ
ท่านได้กล่าววาจานี้ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ แม้ปฏิญญาตนว่า เป็นพระ

อรหันต์ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคำด้วยถ้อยคำแล้วจะไม่ประหม่าตัว
สั่น หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำ
ด้วยถ้อยคำกับเสา ที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสะท้านสั่นหวั่นไหวจะกล่าว
อะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์ ดังนี้ หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้า
ผาก ลงผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อในกายของเราเดี๋ยวนี้ ไม่มีเลย. เมื่อพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะได้นั่งนิ่งอั้นเก้อเขินคอตก ก้ม
หน้าหงอยเหงา ไม่มีปฏิภาณ ( ปัญญาอันแจ่มแจ้ง) ที่จะคิดโต้เถียงอีก.
[400] เจ้าทุมมุขลิจฉวีรู้ดังนั้นแล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระผู้
มีพระภาคเจ้า อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสตอบว่า อุปมานั้นแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด ทุมมุข ดังนี้แล้ว เธอทูลว่า
เปรียบเหมือนในที่ใกล้แห่งบ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ในสระ
นั้นมีปูตัวหนึ่ง มีเด็กชายหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึง
สระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็ลงจับปูนั้นขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นน้อมก้าม
ไปข้างไหน เด็กเหล่านั้นก็จะคอยต่อยก้ามปูนั้น ด้วยท่อนไม้หรือท่อนกระ
เบื้อง ครั้นปูนั้นมีก้ามหักหมดอย่างนี้แล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้
อีก เหมือนอย่างก่อน ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนามปกคลุมอยู่ ยักไปยัก
มาไม่อยู่ในร่องรอย บางอย่างๆ ของสัจจกะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหัก
เสียแล้ว ต่อนี้ไปสัจจกะไม่อาจจะเข้ามาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประสงค์
จะโต้ตอบได้อีก ฉันนั้น เมื่อเจ้าทุมมุขลิจฉวีกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะพูดกะ
เธอว่า เจ้าทุมมุขท่านหยุดเถิด ท่านหยุดเถิด ท่านเป็นคนปากมากนัก ข้าพเจ้า
ไม่ได้พูดหารือกับท่าน ข้าพเจ้าพูดหารือกับพระโคดมต่างหาก. ครั้นพูด
อย่างนี้แล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดมวาจาของข้าพเจ้าและของ
พราหมณ์ เป็นอันมากเหล่าอื่น ยกเสียเถิด เพราะเป็นแต่เครื่องพูดเพ้อ
ก็พูดเพ้อไปแล้วเท่านั้น

[401] ส่วนสาวกของพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรจึงชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำตามคำ
สั่งสอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ได้ปราศจากความแคลงใจที่เป็น
เหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้
อื่น ในคำสอนของศาสนาของตนอยู่ได้.
พ. อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร อย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะ
ในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี
ดีก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ตัวของเรา
ดังนี้ ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ สาวกของเรา ชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำตามคำสั่ง
สอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยได้ ไปปราศจากความแคลงใจที่
เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้าม
ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้อื่น ในคำสอนของศาสดาของตนอยู่ได้.
[402] ส. ด้วยเหตุเพียงไร พระโคดม ภิกษุ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกล
จากกิเลส และควรนับถือ) สิ้นอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน) อยู่จบพรหม-
จรรย์ (ศาสนา) มีกิจที่จำจะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ (ของหนัก) ลงได้
แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชนธรรม (ธรรมอันประกอบสัตว์ไว้กับทุกข์)
อันจะนำไปเกิดในภพสิ้นแล้วรู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว.
พ. อัคคิเวสสนะ ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้น ด้วยปัญญา
อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ดังนั้นแล้ว พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปา
ทาน (ความถือมั่น ความยึดมั่น กิเลสที่เป็นเครื่องถือมั่น เป็นเครื่องยึดมั่น) ด้วยเหตุ
เท่านี้แล อัคคิเวสสนะ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่

จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว
มีสังโยชนธรรมอันจะนำไปเกิดในภพสิ้นแล้ว รู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว. ภิกษุที่
พ้นจากอาสวะอย่างนี้แล้วแล อัคคิเวสสนะ ประกอบด้วยคุณที่เลิศไม่มีคุณอื่น
จะยิ่งกว่า 3 ประการ คือ ญาณ เครื่องเห็นอันเลิศไม่มีญาณอื่นจะยิ่งกว่า
อย่าง 1 ความปฏิบัติอันเลิศไม่มีความปฏิบัติอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง 1 ความพ้นอัน
เลิศไม่มีความพ้นอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง 1 และเธอสักการะเคารพนับถือบูชาพระ
ตถาคตด้วยศรัทธาเลื่อมใสว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้เองแล้ว ทรงแสดง
ธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ทรงทรมาน ฝึกพระองค์ก่อนแล้วทรงแสดงธรรม
เพื่อทรมานฝึกสอนผู้อื่น ทรงสงบระงับกองกิเลส (สภาพที่เกิดในใจแล้ว
ทำใจให้เศร้าหมอง) ได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้สงบระงับกอง
กิเลส ทรงข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ข้ามห้วง
กิเลส ทรงดับเพลิงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ดับเพลิง
กิเลส ดังนี้.
[403] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะทูลว่า ข้าพเจ้านั่น
เทียว พระโคดม เป็นคนคอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สำคัญถ้อยคำ
ของพระโคดมว่า ตัวอาจจะโต้เถียงได้ด้วยถ้อยคำของตัว บุรุษมาปะทะช้างอันซับมัน
เข้าก็ดี เจอะกองไฟอันกำลังลุกโชนก็ดี กระทบงูที่มีพิษร้ายก็ดี ยังมีเอาตัวรอดได้
บ้าง ก็แต่มาจดพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีเอาตัวรอดได้เลย ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคน
คอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดมว่า ตัวอาจจะ
โต้เถียงได้ด้วยถ้อยคำของตัว. ขอพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารของ
ข้าพเจ้า เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้. สัจจกะทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์
แล้ว จึงสั่งเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระ
สมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อ
ข้าพเจ้า จงเลือกหาแต่ของที่ควรแก่พระสมณโคดม. ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่า

นั้นได้นำภัตตาหารไปให้แก่สัจจกะประมาณห้าร้อยหม้อ. สัจจกะให้จัดของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จแล้ว ให้กราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาค
เจ้าว่า เป็นกาลที่สมควรจะเสด็จพระพุทธดำเนิน ภัตตาหารพร้อมเสร็จแล้ว.
[404] เวลาเช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าตามสมณวัตรแล้ว
ทรงบาตร จีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินไป ถึงอารามแห่งสัจจกะแล้วประ
ทับ ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย. สัจจกะอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประ
ธาน ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนให้อิ่มด้วยดีให้ห้ามเสีย
แล้ว ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระหัตถ์จากบาตร
แล้ว นั่ง ณ อาสนะต่ำแห่งหนึ่งแล้ว ทูลว่า พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้จงมี
เพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลายเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อัคคิเวส
สนะ บุญและผลบุญในทานนี้ คืออาศัยทักขิเณยยบุคคล (คนควรรับทานที่ทายกให้
ด้วยความนับถือ) ซึ่งยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เหมือนกับท่าน จักเป็นของทายกทั้ง
หลาย ส่วนบุญและผลบุญที่อาศัยทักขิเณยยบุคคลซึ่งสิ้นราคะ โทสะ โมหะ
แล้ว เหมือนกับเราจักเป็นของท่าน ดังนี้แล.

จบจูฬสัจจกสูตร ที่ 5

อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร


จูฬสัจจกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ความว่า ป่า
ใหญ่มีกำหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่า มหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกสักรุงกบิล-
พัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกำหนด ตั้งจดมหาสมุทร.
ป่านี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชื่อว่า ป่ามหาวัน เพราะอรรถว่า เป็นป่าใหญ่มีกำ
หนด. ส่วนกูฏาคารศาลา เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้ว จึงทำกูฏาคารไว้ภาย
ใน มุงหลังคาด้วยเครื่องมุงอย่างหงส์และนกกระจาบมุงแล้ว พึงทราบ
ว่า เป็นพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง.
บทว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน ชาย
นิครนถ์คนหนึ่ง หญิงคนหนึ่ง เรียนได้วาทะคนละ 500 แล้ว คิดว่า เรา
จักยกวาทะ ดังนี้ เมื่อเที่ยวไปในชมพูทวีปมาอยู่ร่วมกันในกรุงเวสาลี.
พวกเจ้าลิจฉวีเห็นแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านเป็นใคร ดังนี้. ชาย
นิครนถ์กราบทูลว่า ข้าพระองค์เที่ยวไปในชมพูทวีปด้วยคิดว่า ข้าพระองค์
จักยกวาทะ ดังนี้.หญิงนิครนถ์ก็ได้กราบทูลอย่างนั้น. เจ้าลิจฉวีตรัสว่า
ขอท่านจงยกวาทะ กันและกันในที่นี้เถิด. หญิงนิครนถ์ จึงได้ถามวาทะ
500 ที่ตนเรียนแล้ว. ชายนิครนถ์ได้ตอบแล้ว เมื่อชายนิครนถ์ถาม หญิง
นิครนถ์ก็ตอบได้หมด. แม้คนหนึ่งไม่มีชนะ ไม่มีแพ้กัน ทั้ง 2 คน ได้เป็นผู้
เสมอๆ กัน.เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านแม้ทั้ง 2 คนเสมอๆ กัน จักเที่ยวไปทำ
อะไร จงอยู่ในที่นี้เถิด พระราชทานเรือน ทรงตั้งส่วยให้. เพราะการอยู่ร่วมกัน